เทศบาลตำบลบัวลาย อำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา : www.nongbualai.go.th

 
 
ประชาสัมพันธ์


ขอเชิญขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ เพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

    รายละเอียดข่าว

ประชาสัมพันธ์
สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยกรณีพิเศษ

จัดทำโดย
งานพัฒนาชุมชน
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนดั่ง
อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
มีข้อสงสัยสอบถามได้ที่
๐๔๓-๒๑๐๓๘๔ ต่อ ๑๑
๐๘๗-๒๒๕๐๗๐๒


สิทธิของผู้สูงอายุ
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุได้รับสิทธิในด้านต่างๆรวมทั้งก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์ต่อองค์กรด้านผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไป เช่น เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเบี้ยยังชีพ
1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุ60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป โดยเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2495
(3) ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ ผู้รับเงินเบี้ยยังชีพตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย หรือกรุงเทพมหานคร ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดให้เป็นประจำยกเว้นผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๘

ขั้นตอนการยื่นคำขอ
ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ให้ผู้ที่จะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปของปีงบประมาณถัดไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดโดยมีหลักฐานดังนี้
๑.บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออก
โดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนา
๒.ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
๓.สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา
สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร ให้นำสำเนาสมุดบัญชีธนาคารมาด้วย ในกรณีที่มีความจำเป็นผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้อาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นมายื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้

การสิ้นสุดการได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
๑. ตาย
๒. ขาดคุณสมบัติ
๓. แจ้งสละสิทธิการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
วิธีการจ่ายเงิน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุเป็นประจำทุกเดือน
ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลดอนดั่ง ได้รับจัดสรรงบประมาณเป็นเงินสนับสนุนการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน ๔๑๓ คน ในอัตรารายละ ๕๐๐ บาท โดยจ่ายเป็นรายเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐ
สิทธิประโยชน์อื่นสำหรับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมีสิทธิไดรับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่างๆดังนี้
๑. การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุ
๒. การศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
๓. การประกอบอาชีพหรือการฝึกอาชีพที่เหมาะสม
๔.การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
๕.การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในอาคารสถานที่ ยานพาหนะหรือการบริการสาธารณะอื่นๆ
๖.การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม
๗.การช่วยเหลือผู้สูงอายุทีได้รับอันตรายจากถูกทารุณกรรมหรือถูกแสดงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือถูกทอดทิ้ง
๘.การให้คำปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดีหรือในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว
๙.การจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง
๑๐. การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง
๑๑.การสงเคราะห์ในการจัดงานศพตามประเพณี
๑๒.การอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

************************************************
สิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ
การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคนพิการอย่างยั่งยื่นอันจะทำให้คนพิการอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคนทั่วไป เพื่อส่งเสริมให้คนพิการได้รับสิทธิและโอกาสในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทางด้านการแพทย์ การศึกษาอาชีพและสังคม โดยคนพิการที่จะได้รับสิทธิและโอกาสดังกล่าวให้ยื่นจดทะเบียนคนพิการ
คนพิการ จะได้รับการสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพ พ.ศ. ๒๕๓๔
การช่วยเหลือเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพความพิการ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเบี้ยความพิการ
1) มีสัญชาติไทย
2) มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการและไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ









ขั้นตอนการยื่นคำขอ
ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ให้คนพิการลงทะเบียนและยื่นคำขอเงินเบี้ยความพิการด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดโดยมีหลักฐานดังนี้
๑.บัตรประจำตัวผู้พิการตามกฎหมายว่า
ด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการพร้อมสำเนา
๒.ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
๓.สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา
สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังความพิการประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร
๔. ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์ซึ่งมีผู้แทนโดยชอบธรรม คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรรี ยื่นคำขอแทนโดยแสดงหลักฐานการเป็นผู้แทนดังกล่าว



การสิ้นสุดการได้รับเบี้ยยังชีพความพิการ
๑. ตาย
๒. ขาดคุณสมบัติ
๓. แจ้งสละสิทธิการขอรับเบี้ยความพิการเป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิได้รับเบี้ยยังความพิการ
วิธีการจ่ายเงิน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพความพิการเป็นประจำทุกเดือน
ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลดอนดั่ง ได้รับจัดสรรงบประมาณเป็นเงินสนับสนุนการสงเคราะห์เบี้ยความพิการ จำนวน ๖๒ คน ในอัตรารายละ ๕๐๐ บาท โดยจ่ายเป็นรายเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐ


สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยกรณีพิเศษ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘

ขั้นตอนการยื่นคำขอ
ผู้ป่วยเอดส์สามารถยื่นคำขอรับเบี้ยยังชีพได้ตลอด
๑.บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออก
โดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนา
๒.ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
๓.มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๔.ใบรับรองของแพทย์ที่ออกให้ว่าเป็นผู้ป่วยกรณีพิเศษ
การสิ้นสุดการได้รับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยกรณีพิเศษ
๑. ตาย
๒. ขาดคุณสมบัติ
วิธีการจ่ายเงิน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้ป่วยกรณีพิเศษเป็นประจำทุกเดือน



สิทธิประโยชน์ของคนพิการ
ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
พ.ศ. 2534
***********************
มีเจตนารมณ์ส่งเสริมคนพิการให้ สามารถพึ่งตนเอง เป็นที่ยอมรับของสังคม และได้รับโอกาสให้เข้าร่วมกิจกรรมของสังคมได้อย่างเท่าเทียมกับคทั่วไป ดังนั้น พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 จึงกำหนดให้คนพิการที่จดทะเบียนคนพิการและได้รับ “ สมุดประจำตัวคนพิการ ” แล้วได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
1. ด้านการแพทย์ - คนพิการมีสิทธิได้รับการรักษา พยาบาล บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อแก้ไข หรือปรับสภาพความพิการ กายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยคนพิการ เช่น เก้าอี้เข็น ไม้ค้ำยัน เครื่องช่วยเดิน และแขน - ขาเทียม เป็นต้น รวมทั้งคำแนะนำปรึกษาจากแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถานพยาบาลของรัฐ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลประจำอำเภอ

1. โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลจิตเวช เป็นต้น
2. ด้านการศึกษา - คนพิการมีสิทธิเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐทั่วประเทศ ทั้งในระบบโรงเรียน และระบบการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งให้บริการฝึกอาชีพพื้นฐานสำหรับคนพิการด้วย
3. ด้านสังคม - คนพิการมีสิทธิขอรับบริการต่างๆ ได้จากกรมประชาสงเคราะห์ หรือสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด ดังต่อไปนี้
4. คนพิการที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อนมีสิทธิได้รับบริการช่วยเหลือ และสงเคราะห์ รวมทั้งคำแนะนำปรึกษาตามความเหมาะสม
5. คนพิการที่มีความพิการรุนแรง และไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ มีสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพคนละ 500 บาทต่อเดือน
6. คนพิการที่ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู และไม่มีที่อยู่อาศัย มีสิทธิขอรับบริการเลี้ยงดูในสถานสงเคราะห์ของกรมประชาสงเคราะห์ได้




7. คนพิการที่ไม่สามารถขอรับกายอุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยคนพิการบางประเภทได้จากสถานพยาบาลของรัฐ มีสิทธิขอรับได้จากกรมประชาสงเคราะห์ และสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด เช่น รถสามล้อชนิดมือโยก และเก้าอี้เข็นสำหรับเล่นกีฬา เป็นต้น
8. ด้านอาชีพ - คนพิการมีสิทธิได้รับบริการฝึกประกอบอาชีพ จัดหางาน ประสานงานส่งต่อเข้าทำงานในสถานประกอบการต่างๆ และให้คำปรึกษาแนะนำ จากหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมการจัดหางาน และศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการของกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งติดต่อได้ที่สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด นอกจากนั้น คนพิการมีสิทธิขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพอิสระจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ หรือสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดได้ไม่เกินคนละ 20,000 บาท โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย และผ่อนใช้
คืนภายในระยะเวลา 5 ปี














    เอกสารประกอบ

ขอเชิญขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ เพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
 
    วันที่ลงข่าว
: 5 ต.ค. 2554
    ผู้ลงข่าว : ทต.หนองบัวลาย